วันจันทร์ที่ 31 มกราคม พ.ศ. 2554

แนะนำมหาวิทยาลัยมหาสารคาม 1 นาที

นำเสนอเกี่ยวกับมหาวิทยาลัยมหาสารคาม เนื้อหายาว ประมาณ 1 นาที

ขอเชิญรับชม จาก VDO ด้านล่างนี้

Proshow on Blog

วันพฤหัสบดีที่ 25 ธันวาคม พ.ศ. 2551

e-books

Intro to e-Book
View SlideShare presentation or Upload your own. (tags: e-book)

วันพุธที่ 30 กรกฎาคม พ.ศ. 2551

ชีพจร Blog เมืองไทย กลางปี 2008

ปี 2008 ผ่านพ้นมาถึงกลางปีกันแล้ว ก่อนจะคุยกันเรื่อง Blog ผมอยากเล่าถึงความเป็นมาว่าคนไทยเริ่มเขียน Diary Online กันมาก่อน ในระยะแรกตั้งแต่ปลายปี 1999 ช่วงนั้นมี web ที่ให้บริการแบบ Diary Online กันมากมาย แต่เมื่อกระแสของเทคโนโลยีเปลี่ยนไป Web 2.0 ถูกพัฒนาขึ้นมาเพื่อตอบสนองความต้องการให้มากที่สุด จากนั้น Blog ก็ได้เริ่มเปิดตัวและมีการใช้งานอย่างแพร่หลายเพิ่มขึ้นเรื่อยๆ

วันนี้เรากลับมาดูข้อมูลของประเทศไทยกันครับว่า กระแสความนิยม Blog ของคนไทยเป็นอย่างไรกันบ้าง ผมใช้ Google Trends แล้วใช้ key word คำว่า Blog สำหรับวัดชีพจรกระแสความนิยมการใช้ Blog บันทึกเรื่องราวต่างๆ นับจากปี 2005 จนถึงปัจจุบัน กลางปี 2008 ดังแสดงจากภาพด้านล่าง


เมื่อพิจารณาจากข้อมูลจากข้างบนนี้แล้ว ตัวเลขอาจสวยหรูหรือไม่เพียงใดก็ตาม การนำเทคโนโลยีมาใช้แล้วล่ะก็ สิ่งที่ควรคำนึง และตระหนักรู้สำหรับผู้ใช้ สำหรับถ่ายทอดเนื้อหาสาระ ความรู้ เรื่องราวต่างๆ ผ่าน Blog มีประโยชน์ต่อการนำไปใช้ต่อเพื่อพัฒนาสังคม และประเทศชาติต่อไปได้อย่างไร หรือ Blog จะเป็นเสมือนคลื่นกระทบฝั่ง มาแล้วก็ผ่านไป ?

-------------

วันศุกร์ที่ 18 กรกฎาคม พ.ศ. 2551

ดูฝรั่งทำ Social Network ตัวอย่าง Crowdsourcing Social Intelligence: Socialising Intelligence

ดู...ดู๊ดู ดูเขาทำ วันนี้เราไปดูต่างประเทศเขาใช้ Social Network กันครับ เป็นระบบฝรั่งเขาใช้ี่นำเสนอ และแบ่งปันความรู้กันได้ดีอีกระบบหนึ่ง กำลังได้รับความนิยมกันมาก แบบ in trend กันเลยทีเดียวเชียวครับ เขาใช้เทคโนโลยี Web 2.0 ในการถ่ายทอดองค์ความรู้กันครับ ผมเลยหยิบมาฝาก ตาม slide นี้ครับ








ส่วนล่างสุดของการนำเสนอ เขาจะใส่ Slideshow transcript ท่านสามารถดูไปพร้อมๆ กับการ คลิก slide ข้างบนได้เลยครับ


Slideshow transcript


Slide 2: Rizwan Tayabali = Management Consultant &
Social Entrepreneur

Slide 3: We’re going to consider a new angle on Social
Intelligence

Slide 4: The power of crowd intelligence.

Slide 5: Socialising knowledge transfer & Crowd-sourcing
help

Slide 6: Back to Basics

Slide 7: What exactly is Social Intelligence?

Slide 8: Is there even one clear definition?

Slide 9: 1920 E.L. Thorndike first coined it

Slide 10: In 1987, Cantor & Kihlstrom redefined it

Slide 11: Howard Gardner said it’s the interpersonal facet
of multiple intelligences

Slide 12: Daniel Goleman took the neuroscience approach
Social Intelligence = Social Awareness + Social Facility

Slide 13: They all essentially view social intelligence as
personal

Slide 14: the ability to get along well with others and to
get them to cooperate with you

Slide 15: But the world is changing

Slide 16: Social intelligence is now also networked
intelligence

Slide 17: The Web 2.0 generation

Slide 18: And platform intelligence

Slide 20: The semantic web

Slide 21: A whole new field called SID (social intelligence
design) has even sprung up

Slide 22: We’re more interconnected than we used to be

Slide 23: So social intelligence can now be viewed as a
collective phenomenon

Slide 24: I know what you know, as long as I know you!

Slide 25: Which gives us another perspective to explore

Slide 26: An opportunity to change the world

Slide 27: Why?

Slide 28: Societal definition of intelligence = Academic

Slide 30: This makes it a function of economics

Slide 32: And since we have social economic differentials,
we also have social intelligence differentials

Slide 33: Balancing out these differentials is what I call
socialising intelligence

Slide 34: In other words...

Slide 35: Facilitating knowledge transfer to create a
collective social intelligence

Slide 37: Using web technologies and SID to create a
community platform for socialising knowledge transfer

Slide 38: Crowd-sourcing help by enabling virtual
volunteering

Slide 39: Crowd-Sourcing = Many to one

Slide 40: Virtual Volunteering = Doing stuff directly online

Slide 42: Removing barriers to volunteering knowledge

Slide 43: Socialising Intelligence!

Slide 44: The Gender Issue

Slide 45: Does it matter?

Slide 46: Women are 20% more likely than men to support
charities or good causes Source: The Newspaper Society

Slide 47: Women are generally considered to have higher EQ

Slide 48: Women have more friends and spend more time on
social networks Source: Rapleaf Study

Slide 49: Socialising intelligence is sort of dependent on
all of these

Slide 50: But men are more into knowledge sharing
technologies

Slide 51: So the answer is...

Slide 53: Thank You! Rizwan Tayabali
rizwan.tayabali@gmail.com www.urbansurvivalproject.org Find me on Facebook,
Del.ic.io.us & LinkedIn

What is e-learning 2.0 ?

วันนี้มีแหล่งการเรียนรู้เกี่ยวกับ e-Learning 2.0 เขียนโดย Dr. Tony Karrer is CEO/CTO of TechEmpower ผู้ซึ่งเคยได้รับรางวัล Winner EduBlog Awards 2007 Dr. Tony Karrer เขียน blog เกี่ยวกับ e-Learning โดย slide เกี่ยวกับเรื่องราวของ e-learning 2.0 ดังที่ปรากฎ ด้านล่างนี้

วันพฤหัสบดีที่ 17 กรกฎาคม พ.ศ. 2551

ประสบการณ์สอนยุค e

หลายวันก่อนผมสอนนิสิตกลุ่มหนึ่ง โดยเนื้อหาจะต้องใช้โปรแกรมพวก Word Processor และ Spreadsheet ซึ่งปกติทั่วไปตามห้อง LAB จะมีไว้กันเป็น โปรแกรมสามัญประจำเครื่องอยู่แล้ว แต่...ด้วยการที่มีการปรับเปลี่ยนเครื่อง PC จากเดิมที่ใช้มานานหลายปีแล้ว เป็นเครื่องใหม่เอี่ยม และด้วยความใหม่เอี่ยมนี้เอง บางเครื่องก็ไม่มีเจ้าโปรแกรมสามัญฯ อย่างที่ว่า แต่โชคดีที่มี Internet เชื่อมต่อไว้แล้ว

ครั้งก่อนก็เคยสอนเรื่องการประยุกต์ใช้ Google Apps (http://www.google.com/a) ที่มีเกือบจะครบเครื่อง ทั้ง word excel pdf และอีกสารพัดประโยชน์ ที่ดียิ่งกว่าก็คงเป็นการใช้งานร่วมกันได้ผ่านเครือข่าย และไม่จำเป็นต้องติดตั้งโปรแกรมสามัญฯ ให้หนักเครื่อง PC ดีกว่าเป็นไหนๆ จะรอช้าอยู่ทำไมล่ะ... งั้นตัดสินใจให้นิสิต login เข้าใช้งานจาก Google Apps ก็ได้ ปัญหาข้างต้นที่ไร้โปรแกรมสามัญฯ ก็หมดไป เพียงแต่ต้องรอ...จากความเร็ว (ที่จริงน่าจะเรียกความช้า) ของ Internet ก็ว่าได้ เพราะว่าจะเร็วสุดยอดเท่าไร ก็คงไม่ทันใจ มนุษย์ ยุคการเรียนรู้แบบ e นี้เป็นแน่นอน

------

วันพุธที่ 16 กรกฎาคม พ.ศ. 2551

Raptivity e-Learning

โปรแกรมการผลิตสื่อการเรียนการสอน หรือ (Authoring Tools) เท่าที่นิยมใช้กันมีอยู่มากมายหลากหลายยี่ห้อเหลือเกิน จนทำให้ผู้ใช้เทคโนโลยีหรือผู้ที่เกี่ยวข้องเรื่องนี้ เช่น ครู อาจารย์ ผู้ที่ทำหน้าที่หรือวิชาชีพด้านนี้ตามกันแทบไม่ทัน หากจะต้องออกแบบและผลิตสื่อการเรียนการสอนแบบปฏิสัมพันธ์ (Interactive) สักชิ้น ที่เป็น file Flash แล้วก็สามารถนำไปประยุกต์ใช้งานร่วมกับระบบ LMS LCMS รองรับมาตรฐานสากลอย่าง SCORM และขณะเดียวกันก็มีคลังรูปแบบกิจกรรมที่สามารถรองรับทฤษฎีการเรียนรู้ของนักการศึกษา อย่างเช่น ทฤษฎีการเรียนรู้ของ Bloom (Bloom’s Taxonomy) ทฤษฎีแรงจูงใจของ Keller (Keller’s ARCS Model) ทฤษฎีการเรียนรู้ของ Gagne (Gagne’s Nine Events) หรือรูปแบบประสบการณ์การเรียนรู้ต่างๆ (Experiential Learning) ได้พร้อมกัน คุณนึกถึงโปรแกรมอะไรที่จะมาช่วยลดเวลาหรือผ่อนแรงการผลิตสื่อฯ

รู้จักกับโปรแกรม Raptivity ?

Raptivity เป็นโปรแกรม ที่ช่วยให้ ผู้สร้างสื่อการเรียนการสอน สามารถสร้าง สื่อปฏิสัมพันธ์ (Interactive Content) ได้อย่างรวดเร็ว หรือที่เรียกว่า "Rapid Interactive e-Learning" ทั้งในรูปแบบของสื่อการเรียนการสอน หรือ สื่อที่ใช้ในการอบรม ได้ด้วยตนเอง โดยไม่จำเป็น ต้องมีทักษะสูง หรือเป็นผู้เชี่ยวชาญในการเขียนโปรแกรมคอมพิวเตอร์ (Programmer) เพื่อเป็นการเพิ่มเติมคุณลักษณะ ในการนำเสนอเนื้อหา ในบทเรียนอิเลคทรอนิกส์ (Courseware) ให้น่าสนใจมากขึ้น เราสามารถนำสื่อปฏิสัมพันธ์ (Interactive Content) ที่สร้างขึ้นจาก Raptivity ไปประยุกต์ใช้งาน ร่วมกับระบบ e-Learning อื่น ๆ ที่มีอยู่ ไม่ว่าจะเป็นระบบ LCMS LMS CMS หรือ ระบบการเรียนการสอนอื่น ๆ ได้อย่างง่ายดาย โดยสื่อปฏิสัมพันธ์ (Interactive Content) ที่สร้างขึ้นนั้น สามารถบันทึกเป็นไฟล์ Flash ได้ทันที ทำให้ง่ายต่อการเผยแพร่ผ่านระบบอินเทอร์เน็ต (Internet) และไม่จำเป็นที่จะต้องติดตั้งโปรแกรมเสริมใด ๆ เพิ่มเติม ดังตัวอย่าง

คลิก เพื่อดูตัวอย่างสื่อปฏิสัมพันธ์ (Raptivity Interactivity Samples)



เปิดเรียนวันแรก....ให้รอ User และ Password จาก TCU

เปิดเรียนวันแรก 15 ก.ค. 2551 ผู้ดูแลระบบฯ แจ้งให้รอ...user และ password ส่วนวิธีการเข้าใช้ทาง e-mail วันนี้เข้าไปที่เว็บไซต์ของ ThaicyberU มีการแจ้งให้ผู้ได้รับทุนทราบภายหลัง ตาม Link นี้ http://www.thaicyberu.go.th/e-pro110451/login.html